เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่น้อยคนนักที่จะเรียนรู้และให้ความสำคัญกับกฎหมาย คนที่รู้มากก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษ ส่วนคนที่ไม่รู้ก็มักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงอยากนำเสนอเกร็ดกฎหมายเล็กๆน้อยๆที่สามารถจะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดสามารถนำคำถามต่างๆมาโพสถามได้ เราจะพยายามตอบคำถามและค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์มานำเสนอแก่ท่านทั้งหลายต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลทั้งหมดจะเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย หากมมีข้อผิดพลาดประการใดยินดีรับคำชี้แนะของทุกท่าน คุณความดีทั้งหมดข้อยกให้แด่บิดามารดาและครูอาจารย์ทุกท่าน ติดต่อคดีความโทร.0990310273

13 พฤศจิกายน 2555

ตัวอย่างหนังสือรับสภาพหนี้




                        การทำสัญญากู้ยืมเงินนั้น เมื่อลูกหนี้หรือผู้กู้ผิดนัดในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ๆ ก็จะมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปถึงลูกหนี้ก่อนที่จะมีการฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้พร้อมด้้วยดอกเบี้ยผิดนัดภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วเพิกเฉยทางเจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีต่อศาล แต่หากลูกหนี้ไม่ต้องการถูกฟ้องและยอมรับการกู้ยืมเงินดังกล่าวลูกหนี้ก็สามารถทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ได้ โดยระบุจำนวนเงินที่ลูกหนี้เป็นหนี้และกำหนดจำนวนเงินที่ลูกหนี้ตกลงจะผ่อนชำระแก่เจ้าหนี้ในแต่ละงวดว่าเป็นจำนวนเท่าใด รวมถึงข้อกำหนดต่างๆหากว่าผิดนัดจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้


หนังสือรับสภาพหนี้


                บันทึกนี้ทำที่...........................................................................................................................
เมื่อวันที่.............เดือน........................................พ.ศ. ...................... โดย

                นาย/นาง/นางสาว..................................................................อายุ...........ปี/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ...................................................โดยผู้มีอำนาจลงนามท้ายบันทึกนี้/บริษัท.........................................จำกัด   โดยผู้มีอำนาจลงนามท้ายบันทึก   อยู่บ้านเลขที่/สำนักงานเลขที่...................หมู่ที่...............ถนน......................................แขวง/ตำบล.................................อำเภอ/เขต.........................................จังหวัด.......................................................  ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า ลูกหนี้    ฝ่ายหนึ่ง   ขอทำบันทึกนี้มอบไว้ให้กับ   นาย/นาง/นางสาว.................................................................อายุ...............ปี/ห้างหุ้นส่วนจำกัด .........................................................................โดยผู้มีอำนาจลงนามท้ายบันทึก/บริษัท................................................จำกัด   โดยผู้มีอำนาจลงนามท้ายบันทึกนี้   ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า         เจ้าหนี้   อีกฝ่ายหนึ่ง  โดยมีข้อความดังต่อไปนี้

                ตามที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญา...........................ไว้กับเจ้าหนี้   รายละเอียดปรากฏตามสัญญาเลขที่...................................ฉบับลงวันที่........เดือน........................พ.ศ. ...............   ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า สัญญา นั้น   เนื่องจากลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้  จำนวน..................................บาท (............................................................................)  ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ณ วันทำบันทึกนี้  เป็นเงินจำนวน....................................บาท (.......................................................................)  
รวมเป็นหนี้ทั้งสิ้น  จำนวน............................................บาท (...........................................................)ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า หนี้ที่ค้างชำระ   ลูกหนี้ยอมรับว่า   เป็นหนี้ตามจำนวนดังกล่าว   และทำให้เจ้าหนี้เสียหายจริง   และมีความประสงค์จะชำระหนี้ทั้งหมดให้กับเจ้าหนี้   โดยมีรายละเอียดดังนี้

          ข้อ 1.     ลูกหนี้ตกลงชดใช้หนี้ที่ค้างชำระให้กับเจ้าหนี้  เป็นเงินจำนวน.............................บาท (.......................................................)   โดยวิธีการผ่อนชำระให้กับเจ้าหนี้  ดังนี้
                   1.1.   งวดแรก   เป็นเงินจำนวน.............................บาท  (........................................)ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับไว้เรียบร้อยแล้วในวันทำบันทึกนี้


                                1.2.   ส่วนที่เหลือ   ผ่อนชำระเป็นงวด   รวม.......งวด   งวดละเดือน   ในอัตราเดือนละ.........................บาท (..............................................)   ชำระโดยวิธี...................................เริ่มชำระครั้งแรกในวันที่...........เดือน.............................พ.ศ. .........เป็นต้นไป             

                ข้อ 2.      กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระงวดหนึ่งงวดใด   ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ที่ค้างชำระทุกงวด   เจ้าหนี้มีสิทธิบอกเลิกการผ่อนชำระหนี้ที่ค้างชำระตามบันทึกนี้   และเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ที่ค้างชำระได้ทั้งหมดโดยพลันพร้อมกับมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ..........ต่อปีนับแต่วันผิดนัด

                ข้อ 3.     การผ่อนผัน  ผ่อนเวลา  หรือละเว้นการใช้สิทธิใด ๆ อันพึงมีของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ลูกหนี้ตามบันทึกนี้ไม่ถือว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิประโยชน์ในข้อตกลงตามบันทึกนี้กับลูกหนี้แต่ อย่างใด

                ข้อ 4.      การบอกกล่าว  ทวงถาม  หรือส่งเอกสารใด ๆ ของเจ้าหนี้อันพึงมีแก่ลูกหนี้ตาม ภูมิลำเนาที่ปรากฏในบันทึกนี้   ให้ถือว่าส่งโดยชอบ   และลูกหนี้ได้ทราบแล้วในวันที่คำบอกกล่าว
หรือเอกสารนั้นพึงไปถึงตามปกติ

                บันทึกนี้ทำขึ้นเป็นหนึ่งฉบับ   ลูกหนี้ได้ทราบและเข้าใจข้อความโดยตลอดดีแล้ว   เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนาของตน   จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน   และมอบให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักฐาน


ลงชื่อ......................................................................ลูกหนี้
(                                                                                              )


ลงชื่อ......................................................................พยาน
(                                                                                              )


ลงชื่อ.......................................................................พยาน
(                                                                                              )

20 กรกฎาคม 2555

กรณีถูกขโมยบัตรเครดิตไปใช้ ธนาคารเรียกเก็บเงินจากเจ้าของบัตรเครดิตได้หรือไม่?


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2552

ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ถูกลักขโมย หรือถูกใช้โดยบุคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ถือบัตร (จำเลย) ที่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ศูนย์บัตรเครดิตของธนาคาร (โจทก์) ทราบแล้วโดยพลันเพื่อให้ระงับการใช้บัตรเครดิต ในภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นก่อนมีการแจ้งดังกล่าวในจำนวนเงินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตร ซึ่งถูกนำไปใช้โดยมิชอบ รวมถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังจากแจ้งให้ธนาคารทราบแล้วไม่เกิน 5 นาที นอกจากจะขัดแย้งกับข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 6 วรรคสอง แล้ว ยังถือเป็นข้อสัญญาที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระในหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยไม่ได้ก่อขึ้นและไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ทั้งโจทก์ยังมีทางแก้ไขความเสียหายของโจทก์ได้โดยหากโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลยผู้ถือบัตร โจทก์สามารถเรียกเงินที่ได้จ่ายไปคืนจากร้านค้าได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าบัตรเครดิตได้สูญหายไปเพื่อขอให้โจทก์ระงับการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะต้องรีบดำเนินการให้จำเลยโดยเร็ว ก็จะทราบได้ทันทีว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลย แสดงว่าร้านเจมาร์ทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อในเซลสลิป ย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากร้านเจมาร์ทแทนการมาเรียกเก็บจากจำเลยได้ ซึ่งเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่โจทก์มิได้ทำเช่นนั้น โดยเห็นว่ามีข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่ให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลยเกินสมควรและเป็นการผลักภาระให้จำเลยต้องรับผิดเกินกว่าวิญญูชนทั่วไปจะคาดหมายได้ตามปกติ อันเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 จึงไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์

สินสมรสที่มีชื่อทางทะเบียนเป็นชื่อสามีหรือภรรยาผู้เดียว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552
จำเลยซื้ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดในระหว่างสมรสกับโจทก์ อาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ การที่จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นโสดไม่เคยมีคู่สมรสไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว

ฎีกาเรื่องสภาพบุคคล การจัดการสินสมรส ทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก อายุความ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5689/2552

คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 บิดาโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. มารดาโจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จึงเป็นการเรียกให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ แม้ที่ดินพิพาทจะกล่าวอ้างว่าเป็นสินสมรสก็ตามก็เป็นเพียงข้อที่นำไปสู่การวินิจฉัยถึงการแบ่งส่วนของที่ดินในฐานะที่เป็นสินสมรสเพื่อจัดการทรัพย์มรดกของ อ. เท่านั้น คดีของโจทก์จึงมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว แต่เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินนั้น เมื่อโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนหากไม่สามารถทำได้ให้ชำระเงินจำนวน 186,750 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์เรียกร้องจึงไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อ อ. ถึงแก่กรรม การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และ อ. ย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุการณ์ตายของ อ. ทรัพย์มรดกส่วนของ อ. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทันที ด้วยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 ประกอบมาตรา 1599 และ 1629 ที่ดินในส่วนที่เป็นสินสมรสของ อ. ย่อมกลายเป็นมรดก การที่ที่ดินเคยเป็นสินสมรสจึงเป็นเพียงข้อที่นำไปสู่การวินิจฉัยถึงการแบ่งส่วนของที่ดินในฐานะที่เป็นสินสมรสเพื่อจัดการทรัพย์มรดกของ อ. เท่านั้น นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจาก อ. ถึงแก่กรรมแล้วประมาณ 5 ปี อ. สิ้นสภาพบุคคลเมื่อตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมิใช่เรื่องการจัดการสินสมรสที่สามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้นคู่สมรสที่มิได้ให้ความยินยอมมีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 และ 1480 ทั้ง อ. ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เนื่องจากสิ้นสภาพบุคคลด้วยเหตุการตาย แต่กรณีเป็นเรื่องว่าด้วยวิธีการจัดการแบ่งทรัพย์ถึงสิทธิในที่ดินกึ่งหนึ่งของ อ. ที่เป็นมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่แบ่งสินสมรสในส่วนที่ดินครึ่งหนึ่งให้แก่ อ. โจทก์คงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น
โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกดังกล่าวเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วยแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ย่อมถือว่าการยกอายุความเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เป็นการทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนี้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

18 มิถุนายน 2555

ลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์

ลักษณะการกระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ พอสรุปได้ดังนี้

1. การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หมายถึงการครอบครองทรัพย์ตามความเป็นจริง ส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังเป็นของผู้อื่นอยู่ เป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของทรัพย์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง

2. จะต้องได้การครอบครองทรัพย์มาอย่างแท้จริง ไม่ใช่ได้มาแต่เพียงการยึดถือ เช่น ให้ดูแลไว้เพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์นั้นอย่างแท้จริง ถ้าเบียดบังเอาไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก

3. การครอบครองทรัพย์อาจได้มาโดยตรง คือเจ้าทรัพย์ส่งมอบให้หรือโดยปริยายก็ได้

4. การได้มาซึ่งการครอบครองนั้น ต้องเป็นการมอบให้โดยความสมัครใจของเจ้าของทรัพย์หรือผู้แทนเจ้าของ และต้องไม่ได้เกิดจากการหลอกลวงให้ส่งมอบให้ด้วย มิฉะนั้นเป็นความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์

5. การครอบครองทรัพย์นั้นต้องไม่เป็นความผิดฐานอื่นเสียก่อน ถ้าได้ทรัพย์นั้นมาโดยการกระผิดฐานอื่นมาแล้วไม่เป็นความผิดฐานยักยอกอีก เช่น ลักทรัพย์ หรือฉ้อโกง ทรัพย์นั้นมา แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปขายเสีย ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกอีก

6. การมอบทรัพย์ให้ไปขายโดยไม่จำกัดว่าจะต้องขายเท่าใด เจ้าของคิดราคาทรัพย์นั้นตามที่กำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะไปขายเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ว่าจะต้องใช้ราคาทรัพย์ให้ ดังนี้เป็นการมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้ไปทั้งหมด เพียงแต่มีความผูกพันธุ์ในทางสัญญาว่าจะต้องใช้ราคาเท่านั้น เมื่อผู้รับทรัพย์ไปขายแล้วเบียดบังเอาไว้เสียไม่ชำระราคา ไม่ผิดฐานยักยอก ถ้ามอบทรัพย์ไปขายในฐานะตัวแทนในการขายเท่านั้น ดังนี้เบียดบังเอาไว้เสียเป็นความผิดฐานยักยอก

7. การฝากเงิน ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นไปใช้ได้ แต่จะต้องส่งคืนเต็มจำนวน ถ้าผู้รับฝากเอาเงินนั้นไปใช้เสียหมดแล้วไม่มีคืนให้ ไม่ผิดฐานยักยอก เว้นแต่จะปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากเงินนั้นไว้ ดังนี้ถือว่ามีเจตนาทุจริต ผิดฐานยักยอก

8. การมอบเงินให้ไปกรณีอื่น เช่นการให้ไปชำระหนี้แทน ให้ไปซื้อของมาให้ ให้ไปไถ่ทรัพย์ เป็นต้น ถ้าเบียดบังเอาไปโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอก

9. การรับฝากทรัพย์อื่นๆไว้ แล้วไม่ยอมคืนให้เจ้าของ โดยที่ทรัพย์นั้นยังอยู่ในความครอบครองของตน ยังไม่ผิด จะต้องมีการกระทำอื่นๆที่แสดงว่าได้มีเจตนาทุจริตคิดเบียดบังทรัพย์นั้นด้วย เช่นเอาไปจำหน่าย หรือปฏิเสธว่าไม่ได้รับทรัพย์นั้นไว้ เป็นต้น

10. ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ถ้าเขามอบกรรมสิทธิ์ให้โดยเด็ดขาดแล้ว การเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปก็ไม่ผิดฐานยักยอก

11. การซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ถ้ายังจะต้องนับ ชั่ง ตวง วัดหรือทำการอย่างอื่นหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด อันเกี่ยวแก่ทรัพย์สิน เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน เมื่อได้กระทำการดังกล่าวแล้ว กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้จะยังไม่ได้ชำระราคา แต่ระหว่างที่ยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์นั้น ความครอบครองยังอยู่กับผู้ขาย ถ้าผู้ขายเบียดบังเอาไว้โดยทุจริต มีผิดฐานยักยอก

12. เกี่ยวกับการเช่าซื้อทรัพย์ ผู้เช่าซื้อทรัพย์นั้นไปไว้ในครอบครอง เมื่อผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อ และไม่ยอมคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น จะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือไม่ต้องดูเจตนาทุจริตและข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วย ถ้าเพียงแต่ไม่ยอมคืนเฉยๆและทรัพย์นั้นยังอยู่ในความครอบครองของผู้เช่าซื้อ เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น แต่ถ้าเอาไปขายหรือจำนำขาด เป็นผิดฐานยักยอก

13. การเอาทรัพย์ที่รับฝากไปจำนำ จะเป็นความผิดยักยอกหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการเอาไปจำนำนั้นเป็นการจำนำขาดหรือเพียงชั่วคราว ถ้าจำนำเพียงชั่วคราวโดยเจตนาจะไถ่คืนมาดังนี้ ยังไม่ผิดยักยอก

14. การมอบทรัพย์ให้นั้น วัตถุประสงค์ต้องไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่นหนี้ในการพนัน เงินที่ให้เป็นค่าจ้างไปฆ่าคน ผู้รับมอบไปแล้วเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเสีย ไม่ผิดฐานยักยอก

15. การครอบครองทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแล้วเบียดบังเอาไปเป็นความผิดฐานยักยอก และถ้าทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้อื่น เอาไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

16. เจตนาทุจริตเกิดขึ้นขณะใดย่อมเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ไว้แต่ขณะนั้นไม่จำต้องมีการแสดงเจตนา เปลี่ยนลักษณะการครอบครองแทนมาเป็นการครอบครองเพื่อตน โดยเพียงแต่ไปบอกขายทรัพย์นั้นแม้ยังขายไม่ได้ ก็ถือเป็นการเบียดบัง ถือเป็นการยักยอกสำเร็จแล้ว การเบียดบังเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ การเบียดบังเอาทรัพย์เป็นของตนหรือบุคคลที่สามก็ได้

17. เจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์นั้นเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทรัพย์นั้นมาไว้ในครอบครอง แต่อาจมีเจตนาทุจริตมาก่อนได้ เช่น คนใช้คอยโอกาสอยู่ เมื่อนายจ้างมอบให้ก็ยักยอกเอาทรัพย์นั้นไปเสีย

18. ความผิดฐานยักยอกนั้น ผู้ที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น ถ้าสมคบกับผู้ที่ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ ก็มีความผิดฐานสมคบกันยักยอกได้ ไม่ใช่สนับสนุน

19. การส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้รับมอบทรัพย์นั้น ผู้รับทราบแล้วว่าผู้อื่นนั้นส่งให้โดยสำคัญผิด แต่ผู้รับมีเจตนาทุจริตในทันที ไม่ยอมบอกให้เขาทราบความจริง เป็นความผิดยักยอก แต่ถ้าขณะที่มีการส่งมอบทรัพย์ ผู้ส่งทรัพย์ถามว่า ผู้รับมอบทรัพย์เป็นบุคคลที่เขาต้องการมอบทรัพย์ให้ใช่หรือไม่ ถ้าผู้รับแสดงกิริยา ทำนองตอบรับ เช่น พยักหน้าเป็นการแสดงว่าใช่ เช่นนี้ ผู้รับมีความผิดฐานฉ้อโกง เพราะมีการกระทำที่แสดงออกมาเป็นการหลอกลวงให้ผู้ส่งมอบทรัพย์นั้นหลงเชื่อส่งทรัพย์ให้ไป ไม่ใช่เป็นการยักยอกทรัพย์

20. การที่เจ้าของทรัพย์วางของไว้เป็นที่ แต่เวลาทำกิจการเสร็จสิ้นแล้วลืมทิ้งไว้โดยไม่ได้เอาไปด้วย ไม่ใช่เป็นทรัพย์หาย ผู้เอาทรัพย์นั้นไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะยังไม่ได้สละการครอบครอง

21. ทรัพย์สินหาย เป็นเรื่องที่ทรัพย์นั้นหลุดพ้นไปจากความครอบครองยึดถือของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยมิได้ตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องสละการครอบครอง ผู้ใดเก็บเอาทรัพย์นั้นไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สินหาย ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นรายๆไป คือถ้าเก็บเอาไปโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าทรัพย์นั้นเจ้าของกำลังติดตามหรือจะติดตามเพื่อเอาคืนก็เป็นลักทรัพย์ ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ก็เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย

22. ถ้าทรัพย์สินที่ตกหายนั้น เจ้าของสละไปเลย คือไม่ต้องการทรัพย์นั้นอีกต่อไปแล้ว เป็นการสละกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด ย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินหาย ผู้เก็บได้ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก

ดูหมิ่นกับหมิ่นประมาทต่างกันอย่างไร?

ข้อแตกต่างที่สำคัญของดูหมิ่นซึ่งหน้า (มาตรา 393) กับหมิ่นประมาท (มาตรา 326) มีดังนี้
        ข้อแตกต่างที่ 1

        ดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็นการดูหมิ่น ผู้ที่ถูกดูหมิ่น ซึ่งเป็นการกระทำต่อหน้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบุคคลที่ 3 อยู่ด้วยหรือไม่ หากซึ่งหน้าแล้ว เป็นความผิดสำเร็จ (ดูมาตราตามไปนะครับ) แต่หมิ่นประมาทนั้น จะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่น ต่อบุคคลที่สาม ดังนั้น บุคคลที่สาม ถือเป็นองค์ประกอบของความผิด ถ้าไม่มีบุคคลที่สาม มารับรู้การกระทำอันเป็นการหมิ่นประมาทนั้นก็ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้กระทำจะไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท (หมิ่นประมาทต้องมีบุคคลที่ 3 อยู่ด้วยหรือต้องมีบุคคลที่3 มารับรู้การหมิ่นประมาท)

        ตัวอย่างที่ 1. ก. ด่า ข. โดยที่ไม่มีบุคคลอื่นอยู่ด้วย อย่างนี้ เป็นความผิดซึ่งหน้า ไม่ผิดหมิ่นประมาท เพราะไม่มีบุคคลที่ 3 ไม่ครบองค์ประกอบความผิด

        ตัวอย่างที่ 2. ก. ด่า ข. โดยมีคนอื่นอยู่ด้วย (บุคคลที่ 3) เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว

        ตัวอย่างที่ 3. ก. ด่า ข. โดยที่ ข. ไม่อยู่ แต่เป็นการไปใส่ความ ข. ให้ผู้อื่นฟัง ก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน

        จากตัวอย่างข้างต้น ขอแนะนำว่า อย่าเพิ่งใส่ใจกับคำว่า ก. ด่า ข. นะเดี๋ยวจะขยาย คำว่า " ด่า " ให้ต่อไป


        ข้อแตกต่างที่ 2

        ดูหมิ่นซึ่งหน้า.......มักจะเป็นคำด่าที่เป็นคำหยาบ ซึ่งเป็นการเหยียดหยามถือว่าอยู่ในข่ายของความผิดมาตรานี้ครับ

        หมิ่นประมาท.........ส่วนมากคำหยาบคาย ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท เนื่องจากไม่เป็นการลดคุณค่าทางสังคม ของผู้ถูกหมิ่นประมาทลงมา เช่น คำหยาบทั่วไป " ****** ... ***สัตว์ " เป็นต้น ไม่ว่าจะหยาบอย่างไร ก็เป็นเพียงคำหยาบคายเท่านั้น (เพราะคนทั่วไปที่ได้ฟังคงจะไม่คิดไปว่าคนที่ถูกหมิ่นประมาทนั้นเป็น ****** ... ***สัตว์ จริงๆ ) แต่คำสุภาพบางคำ อาจเป็นหมิ่นประมาท เช่น ก. บอกกับ ข. ว่า เจ้าพนักงานคนนี้ รับเงินใต้โต๊ะจึงจะทำงานให้ จะเห็นว่า ไม่มีคำหยาบคายเลย แต่เป็นการลดคุณค่าทางสังคมของผู้นั้นลงมา ให้ถูกมองว่าเป็นเจ้าพนักงานทุจริต เช่นนี้ เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทสำเร็จแล้ว

         ดังนั้นหมิ่นประมาท ส่วนใหญ่เป็นการด่าว่าหรือทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ที่ถูกหมิ่นประมาทเสียหายในเรื่องดังต่อไปนี้ เช่น การทำผิดศีลธรรม (เช่นการประพฤติเสื่อมเสียทางด้าน ชู้สาว) การประพฤติผิดอาญา (เช่น ลักทรัพย์ผู้อื่น) การประพฤติเสื่อมเสียทางด้านหน้าที่การงาน (เช่นทุจริตในหน้าที่การงาน) และ การเงิน(เช่น เป็นคนมีหนี้สินมาก ยืมเงินแล้วไม่ใช้ ) เป็นต้น

        สรุป

        ดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นการพูดด้วยความเกลียดชังตัวผู้โดนด่า เป็นการด่ากันจะ ๆ เลย ต่อจะด่าข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้แต่ขอให้จะ ๆ เช่น ***ควาย ***ชิงหมาเกิด ****** ***สัตว์ ***เ-ดแม่ เป็นต้น

        ส่วนหมิ่นประมาท เป็นการกล่าวกับอีกคนหนึ่งเพื่อทำลายชื่อเสียงของผู้โดนกล่าวถึง ส่วนพูดอย่างไรจึงจะเป็นการหมิ่นประมาทนั้น หลักคือเรื่องที่โดนกล่าวถึงนั้นผู้พูดต้องยืนยันข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ จะจริงหรือเท็จไม่สำคัญ แต่เรื่องนั้นต้องเป็นไปได้ แล้วก็ทำให้ผู้ถูกกล่าวถึงเสียชื่อเสียง โดนดูถูก หรือโดนเกลียดชัง เช่น ด่าว่าได้ควาย อย่างนี้ไม่เป็นหมิ่นประมาทเพราะว่าใครก็รู้ว่าคนไม่ใช่ควาย ******ก็ไม่ใช่ แต่ถ้าบอกว่า***คนนี้มันขี้โกงชอบโขมยของชาวบ้านด้วยเห็นมากับตา หรือคนอย่างมันเป็นชู้กับชาวบ้านไม่เลือก อย่างนี้ก็เป็นการหมิ่นประมาท เพราะคนอื่นที่ได้ยินได้ฟังอาจจะคิดไปได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงแล้วมันทำให้คนที่ถูกหมิ่นประมาทเสียหายหรืออาจโดนคนอื่นมองในแง่ไม่ดีนั่นเอง


        ข้อแตกต่างที่ 3

        ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น แม้กระทำต่อผู้ตาย แต่ก็ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทต่อบิดา มารดา บุตร หรือภรรยาของผู้ตายด้วย (ม.327) ซึ่งระวางโทษอย่างเดียวกันกับ ม.326

        ในส่วนนี้ ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ไม่อาจมีได้ครับ เนื่องจากผู้ตาย ตายไปแล้ว การไปด่าผู้ตายโดยที่ไม่มีบุคคลที่สามอยู่ด้วยนั้น อย่างไรก็ไม่เป็นความผิดฐานนี้แน่นอน


        ข้อแตกต่างที่ 4

        ดูหมิ่นซึ่งหน้า ไม่มีเหตุยกเว้นความผิดนะครับ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องมาพิสูจน์ว่า ข้อความนั้นจริง หรือไม่จริง หรือว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าเป็นดูหมิ่นซึ่งหน้า แล้วผิดเลย จบเลย ไม่ต้องพิสูจน์ต่อ

        ส่วนในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็น หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เช่นเรื่องความประพฤติเสื่อมเสียในทางชู้สาว

        ตัวอย่าง นายA พูดกับBว่า นางสาวC นอนกับผู้ชายไม่เลือกหน้า เป็นเหตุให้นางสาว C เสื่อมเสียชื่อเสียง เช่นนี้แม้เรื่องดังกล่าวเป็นความจริงก็ตาม นาย A ก็ไม่สามารถพิสูจน์ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความจริงเพื่อจะได้รับยกเว้นโทษได้เพราะเรื่องดัวกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นต้น

        ดังนั้นในทางอาญาแม้คำกล่าวหมิ่นประมาทจะเป็นความจริง ผู้ที่กล่าวก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ ถ้าหากไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้พิสูจน์ได้ จึงมีคำกล่าวว่า ในทางอาญา “ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท” ซึ่งตรงนี้จะต่างจากการหมิ่นประมาทในทางแพ่งที่ว่า หมิ่นประมาททางแพ่ง

        ม.423 “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

        ดังนั้น หมิ่นประมาททางแพ่ง-ต้องเป็นการกล่าวข้อความที่ฝ่าฝืนความจริง (ไม่จริง)ถึงจะต้องรับผิดในทางแพ่ง แต่ถ้าคำกล่าวนั้นเป็นความจริง แม้จะเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ไม่ต้องรับผิดทางแพ่งแต่ประการใด ส่วนหมิ่นประมาททางอาญา-แม้เป็นความจริงก็อาจเป็นหมิ่นประมาทได้นะ

        ต่างกันตรงนี้

        หมิ่นประมาทนั้นผู้พูดต้องยืนยันข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ จะจริงหรือเท็จไม่สำคัญ แต่เรื่องนั้นต้องเป็นไปได้ แล้วก็ทำให้ผู้ถูกกล่าวถึงเสียชื่อเสียง โดนดูถูก หรือโดนเกลียดชัง เช่น นาย ก. ด่าว่านาง ข. ว่าเป็นชู้กับนาย ค. ต่อหน้าชาวบ้านหลายคน

        ส่วนการ ด่าว่า***ควาย ****** ***เห้ อย่างนี้ไม่เป็นหมิ่นประมาทเพราะว่าใครก็รู้ว่าคนไม่ใช่ควาย *** หรือ***เห้

ฎีกาน่าสนใจ

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2550

การครอบครองที่ดินของผู้อื่น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น ต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีด้วย เมื่อทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 นับถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้ง ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ 

จำเลยทั้งสองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น 

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2547 

การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทานและรับว่าหากกรมชลประทานจะเอาคืน จำเลยก็จะคืนให้เช่นนี้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการครอบครองชั่วคราวเท่านั้น มิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ อีกทั้งที่ดินที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นที่ดินซึ่งบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์อยู่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 7107 ซึ่งทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินให้แก่บริษัท ท. ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจึงต้องเริ่มนับเมื่อทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดิน แต่จำเลยมิได้บอกกล่าวไปยังบริษัท ท. ว่าตนเองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสุจริตอย่างเป็นเจ้าของ ต่อมาบริษัท ท. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. จำเลยกลับมีหนังสือขอซื้อที่ดินไปยังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. พฤติการณ์ของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการยอมรับว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลย จึงมีลักษณะเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น ซึ่งตราบใดที่จำเลยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง แม้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย 



1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685 - 3686/2546 

บริษัท ด. เจ้าของที่ดินได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหาขายโดยด้านหลังอาคารมีกำแพงรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 2 เมตร กั้นยาวตลอดทั้ง 11 คูหาจำเลยที่ 4 ซื้ออาคารพาณิชย์เมื่อปี 2525 ส่วนจำเลยที่ 5 ซื้ออาคารพาณิชย์เมื่อปี 2536จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ต่อเติมรั้วคอนกรีตเดิมซึ่งอยู่นอกโฉนดที่ดินที่ซื้อมาให้สูงขึ้นและมุงหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2537 ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมรั้วคอนกรีตทั้งหมด ในกรณีรั้วคอนกรีตที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้วเดิมไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับแก่คดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้าง โจทก์จึงเป็นเจ้าของรั้วคอนกรีตเดิม ส่วนรั้วคอนกรีตที่ต่อเติมให้สูงขึ้นและสิ่งปลูกสร้างด้านหลังอาคารพาณิชย์ ที่ต่อเติมขึ้นภายหลังไม่ใช่การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หรือสร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในที่ดินของผู้อื่น แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะกระทำไปโดยสุจริต ก็ไม่มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1312 และมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 จึงต้องรื้อออกไป 

ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน 5 คดี โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารอัตราสูงสุด 200 บาท แม้จะไม่ครบถ้วนก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ก็บัญญัติเพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังได้ ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ไม่ชอบ 
 

6 มิถุนายน 2555

กฎหมายมรดก


๑. กองมรดก คืออะไร

กองมรดกคือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน เสื้อผ้า หรือแม้แต่ของใช้ส่วนตัว แม้แต่ทองที่ครอบฟันไว้ ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้ตาย ซึ่งเมื่อบุคคลใดตายแล้วย่อมอยู่ในความหมายของกองมรดกด้วย

นอกจากทรัพย์สินแล้ว ยังรวมถึงบรรดาสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวันที่ตายหรือที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าภายหลังจากที่ตายแล้วด้วย เช่นทำสัญญาเช่าบ้านมีกำหนดสิบปี เช่าไปได้สองปีแล้วเกิดตายลง สิทธิที่จะเช่าบ้านนั้นต่อไปอีก ๘ ปี ก็จะตกเป็นกองมรดก ในขณะเดียวกันหน้าที่หรือความรับผิดในการชำระค่าเช่าที่ค้างอยู่ก็ดี หรือที่จะชำระต่อไปในวันหน้าก็ดี ล้วนตกเป็นกองมรดกด้วยกันทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามบรรดาสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิด ที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ย่อมตายตามตัวผู้ตายไปด้วยไม่ตกทอดไปถึงทายาท เช่นทำสัญญาว่าจะไปเล่นลิเกให้ชมในอีกสิบวันข้างหน้า หรือไปตกลงรับจ้างวาดรูปไว้ แล้วเกิดตายเสียก่อนเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าโดยสภาพแล้วเป็นเรื่องเฉพาะตัว จะมากะเกณฑ์ให้ทายาทต้องไปเล่นลิเกแทนผู้ตายย่อมไม่ได้ แต่ถ้าบังเอิญผู้ตายไปรับเงินค่าตัวเขามาก่อนแล้ว ก็กลายเป็นหนี้ที่ทายาทจะต้องชดใช้คืนให้แก่ผู้จ้าง

เมื่อกฎหมายกำหนดว่ากองมรดกนั้นประกอบไปด้วยทั้งทรัพย์สินและหน้าที่และความรับผิดด้วยเช่นนี้ มิกลายเป็นว่าถ้ากองมรดกมีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน ทายาทที่จะรับมรดกไปมิต้องกลายเป็นลูกหนี้ไปด้วยหรือ เรื่องนี้กฎหมายมิได้ใจไม้ไส้ระกำถึงขนาดนั้น เพราะได้กำหนดไว้แล้วว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ทายาทก็ไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน เรียกว่าอย่างแย่ที่สุดก็เพียงเสมอตัว คือไม่ได้อะไรเลย

ที่ว่าทรัพย์สินของผู้ตายนั้น ต้องเข้าใจว่าหมายถึงทรัพย์สินที่เป็นของผู้ตายจริง ๆ ไม่ใช่ทรัพย์สินทั้งหมดที่สามีภริยามีอยู่ร่วมกัน เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์สินที่มีอยู่ระหว่างสามีภริยาจะต้องแยกออกจากกันเสียก่อน ส่วนของใครก็เป็นของของคนนั้น จะทำพินัยกรรมยกให้ใครก็ได้แต่จะต้องยกเฉพาะส่วนที่เป็นของตนเท่านั้น ถ้าไม่มีพินัยกรรม และทรัพย์สินจะตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ทรัพย์สินที่จะตกไปย่อมจำกัดอยู่แต่เฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ตาย ไม่รวมถึงส่วนที่เป็นของคู่สมรสด้วย

เมื่อคู่สมรสคนหนึ่งตายไป การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ทรัพย์สินที่ทั้งสองมีอยู่ด้วยกันย่อมแยกออกจากกันโดยผลของกฎหมาย แม้ว่าในความเป็นจริงทรัพย์สินทั้งหมดจะยังอยู่รวม ๆ กัน บางชิ้นก็เป็นชื่อของคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทรัพย์สินนั้นจะเป็นของคนนั้นแต่เพียงผู้เดียว

การที่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับทรัพย์สินส่วนของตนแยกมา มิได้หมายความว่าคู่สมรสดังกล่าวได้รับมรดก หากแต่เป็นการได้ทรัพย์สินของตนคืนมา ส่วนของผู้ตายนั้น คู่สมรสจึงจะไปรับมาในฐานะมรดกอีกต่อหนึ่ง เช่น เมื่อสามีตาย มีเงินอยู่ในบัญชีของสามี ๑๐๐ ล้านบาท ถ้าเงิน ๑๐๐ ล้านบาทนั้นได้มาในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันโดยไม่ใช่เป็นสินส่วนตัวของสามี เมื่อสามีตาย เงิน ๑๐๐ ล้านจะถูกแบ่งระหว่างสามีและภริยาคนละ ๕๐ ล้าน ส่วนของสามี ๕๐ ล้านจะตกเป็นทรัพย์มรดก นำมาแบ่งกันในระหว่างผู้เป็นทายาท ซึ่งแม้ภริยาจะไม่ได้เป็นทายาท แต่ก็มีสิทธิได้รับมรดกเช่นเดียวกับทายาท เช่น ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และมีลูก ๔ คน เงิน ๕๐ ล้านนั้นจะแบ่งระหว่างภริยาและลูก ๆ คนละ ๑๐ ล้าน ตกลงภริยาจะได้เงิน ๖๐ ล้าน (คือ ๕๐ ล้านในฐานะที่เป็นทรัพย์สินของตนที่แยกออกมา และอีก ๑๐ ล้านในฐานะที่เป็นมรดก) และลูก ๆ ได้คนละ ๑๐ ล้าน

ถ้าผู้ตายเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินของท่านที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ท่านจะทำพินัยกรรมยกให้ใครก็ได้ แต่ถ้าท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินเหล่านั้นจะตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของท่าน โดยจะไม่ตกไปยังทายาทโดยธรรมทั้งปวง แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่ก่อนอุปสมบทย่อมตกไปเป็นของทายาทได้เช่นเดียวกับคนธรรมดาทั่วไป

30 พฤษภาคม 2555

ความรู้เกี่ยวกับที่ดิน

     ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับใช้เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นระเบียบการเกี่ยวกับที่ดินจึงมีความละเอียดอ่อนมาก เพื่อให้ประชาชนผู้สุจริตได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับเรื่องที่ดินที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันบางส่วนไว้บ้าง จึงได้รวบรวมข้อควรทราบและทางปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินซึ่งจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ   ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนองคลองบึง ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1)
ประเภทที่ดิน

1. ที่ดินของเอกชน รวมที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ แต่อาจมีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3 ก.) ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นและรวมถึงที่ดินมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
2. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมทั้งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมิได้มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ทางหลวง ทางน้ำ ทะเลสาบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะเช่น ศาลากลางจังหวัด


สาธารณสมบัติของแผ่นดินมีคุณสมบัติดังนี้

1. จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ออกเฉพาะให้โอนกันได้

2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ครอบครองทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะกี่ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ

3. ห้ามยึดทรัพย์ของแผ่นดิน

แจ้งทราบ ^_^

เนื่องจากระยะนี้ผู้เขียนติดภารกิจ จึงมิได้เข้ามาอัพเดตblog หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยในเรื่องใด สามารถโพสถามไว้ได้ แล้วผู้เขียนจะเข้ามาตอบให้ภายหลัง คาดว่าจะเสร็จภารกิจในอาทิตย์หน้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย _/\_

11 พฤษภาคม 2555

ขั้นตอนการพิจารณาคดีอาญา


ขั้นตอนในการพิจารณาคดีอาญา

 1.  ฟ้องที่ศาลใด
                พิจารณาว่าความผิดเกิดขึ้นในเขตศาลใด หรือจำเลยมีที่อยู่ หรือถูกจับในเขตศาลใด หรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในเขตศาลใด  ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาคดี
              
                 2.  คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
 
                คือ  คดีที่การกระทำผิดอาญาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทน หรือเรียกให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายต้องเสียไปจาการกระทำผิดอาญานั้น จะฟ้องจำเลยต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา  โดยมีคำขอส่วนแพ่งรวมอยู่ในคำฟ้องอาญา

                 3.  วิธีการอ่านคำฟ้อง  เมื่อได้รับสำเนาคดีคำฟ้อง  ควรตรวจดูคำฟ้องดังนี้
                           - ศาลที่ฟ้อง  วัน เดือน ปี ที่ฟ้อง
                           - ชื่อโจทก์และจำเลย  จำนวนโจทก์และจำเลย
                           - ข้อหาหรือฐานความผิด
                           - ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

                 4.  ข้อควรปฎิบัติเมื่อศาลประทับฟ้อง  หากจำเลยจะสู้คดีควรปฎิบัติ ดังนี้
                      1. หากศาลมีคำสั่งขังจำเลย   จำเลยสามารถยื่อคำร้องขอประกันต่อศาล  ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะได้รบอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนหรือชั้นฝากขังหรือไม่ก็ตามท
                      2. ดำเนินการหาทนายความเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้การดำเนินคดีต่อไป
                      3. ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้อง  และสิ่งที่โจทก์ยื่นเป็นพยานหลักฐาน

                 5. ชั้นพิจารณาคดี
                     1. การพิจารณาและสืบพยานในศาล จะกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย โดยศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่ากระทำความผิดจริงหรือไม่ แล้วจดคำให้การจำเลยไว้
                     2. กรณีจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาคดีโดยไม่ต้องสืบพยานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่อัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ ปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลย 
                     3. กรณีจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป โดยศาลจะนัดสืบพยานโจทก์ก่อนเสร็จแล้วจึงให้นัดสืบพยานจำเลย หลักจากสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้วศาลจะนัดฟังคำพิพากษา
                    โจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลทุกนัด หากไม่มา ศาลต้องยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มาศาลโดยมีเหตุอันสมควร ศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ หากจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดหรือตามหมายเรียก (กรณีจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว) ศาลจะออกหมายจับจำเลยและปรับนายประกันในทางปฏิบัติแล้วหากศาลไม่แน่ใจว่าจะจับจำเลยได้เมื่อใดก็จะจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อไป

                 การสืบพยาน
                 คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบก่อนจำเลยเสมอ และเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว จำเลยจึงนำพยานเข้าสืบต่อไป ก่อนสืบพยานโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงเปิดคดี  และหลังสืบพยานเสร็จแล้วโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงปิดคดีได้
                 ในระหว่างพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือทำการอะไรอีก จะสั่งงดพยานหรือการนั้นเสียก็ได้

ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่ง



สิทธิในการฟ้องคดีแพ่ง

บุุคคลที่มีสิทธินำคดีแพ่งขึ้นฟ้องร้องต่อศาลจะต้องมีเหตุตามกฎหมายกำหนดไว้ 2 ประการ คือ
            
 1. การโต้แย้งสิทธิ 
             2. การต้องใช้สิทธิทางศาล 

             1. การโต้แย้งสิทธิ หมายถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายความถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว สิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง
              เป็นการโต้แย้งสิทธิและต้องฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลย เรียกว่า คดีมีข้อพิพาท

              2. การต้องใช้สิทธิทางศาล หมายถึง กรณีที่กฎหมายกำหนดให้การกระทำบางอย่างต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรองจากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ สาบสูญ  การขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น

             ผูููู้ขอไม่ต้องฟ้องใครเป็นจำเลย เพียงแต่ยื่นคำร้องขอต่อศาลเท่านั้นและศาลจะนัดไต่สวน
คำร้องของผู้ร้อง เรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท

10 พฤษภาคม 2555

อายุความมรดก



ผู้มีสิทธิได้รับมรดกไม่ว่าจะในฐานะทายาทโดยธรรม คือ คู่สมรส หรือลูกๆของเจ้ามรดก หรือในฐานะผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นบุคคลใดก็ได้ ถ้าแบ่งปันทรัพย์มรดกกันลงตัวด้วยดีก็ดีไป แต่ถ้ามีข้อโต้แย้งแย่งชิงมรดกกันขึ้น ต้องทราบด้วยว่ามีเงื่อนไขสำคัญของกฎหมายเรื่องกำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตาม คือ"อายุความฟ้องคดีมรดก"

"คดีมรดก" หมายถึง คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วยกันตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรม หรือคดีที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกถูกฟ้องในฐานะทายาท ให้รับผิดชอบหนี้ที่ผู้ตายเป็นหนี้อยู่

เราสามารถแยกกำหนดอายุความมรดกได้ดังนี้ คือ
1.อายุความฟ้องคดีมรดก ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม คือ พ่อแม่ คู่สมรส บุตรของผู้ตาย ต้องฟ้องคดีมรดกภายในกำหนด ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
2.อายุความสิทธิเรียกร้องตามข้อกำหนดพินัยกรรม ผู้ฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้ที่ผู้ตายยกมรดกให้ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย
อายุความฟ้องคดีเรียกร้องมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ให้เริ่มนับตั้งแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิที่ผู้รับพินัยกรรมมีอยู่ตามพินัยกรรม เพราะกฎหมายบัญญัติว่า " สิทธิและหน้าที่ใดๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมให้มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป" ถ้าเขายังไม่ตายทรัพย์สินของเขาก็ยังมิใช่ทรัพย์มรดกที่จะตกทอดให้ใครๆได้
แต่มีกรณียกเว้น คือ ถ้าผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย หรือตามข้อกำหนดพินัยกรรม หากเป็นกรณีที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่ง แล้วฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ก็สามารถฟ้องได้แม้จะเกิน ปีแล้วก็ตาม ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องภายใน ปี อายุความมรดก ปี อยู่ภายใต้บังคับว่า "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความ ปี แล้วก็ดี" ดังนั้น สำหรับทายาทคนที่ครองครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันนั้น แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อกำหนดอายุความมรดกกี่สิบปีก็ตามก็ฟ้องขอแบ่งได้ ไม่ขาดอายุความมรดก ปี
เมื่อทายาทคนใดฟ้องเรียกร้องส่วนแบ่งมรดกเกินหนึ่งปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก และทายาทผู้นั้นไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความ ปีไม่ได้ และถ้าทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในทรัพย์นั้นยกอายุความตาม ปี ขึ้นต่อสู้ คดีย่อมขาดอายุความ ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ส่วนทายาทที่ครองครองมรดกเกินกำหนดอายุความ ถือว่ามีสิทธิในทรัพย์มรดกที่ตนครอบครอง มีอำนาจในฐานนะเจ้าของกรรมสิทธิ์
3.อายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้กองมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องฟ้องเรียกร้องสิทธิภายในกำหนด ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ไม่ให้เกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย
สำหรับเจ้าหนี้ผู้ตายนั้น นอกจากเจ้าหนี้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีเจ้าหนี้ประเภทที่ผู้ตายนำทรัพย์ไปเป็นประกัน เช่น เจ้าหนี้จำนอง เจ้าหนี้จำนำ เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง กฎหมายบัญญัติว่า "ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงสิทธิบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ฯลฯ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ซึ่งอาจมีอายุความในการบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นยาวกว่า ปี ก็ต้องฟ้องภายใน ปี มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ
4.อายุความ 10 ปี อย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่าข้างต้นนั้น มิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในกองมรดกที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ผู้รับพินัยกรรมที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ดี หรือเจ้าหนี้กองมรดกไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ซึ่งอาจฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ปี นับแต่มารู้ถึงความตายของเจ้ามรดกหรือสิทธิตามพินัยกรรมในภายหลังได้ แต่จะอ้างความไม่รู้ดังกล่าวมาเป็นเหตุฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องร้องกันไม่สิ้นสุด
5.สิทธิยกอายุความ ปี ขึ้นต่อสู้ ใครบ้างที่มีสิทธิยกอายุความ ปีขึ้นต่อสู้ กฎหมายกำหนดบุคคล ประเภทซึ่งมีสิทธิยกอายุความ ปีขึ้นต่อสู้ไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นทายาท (ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม) หรือคนที่มีสิทธิที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก ดังนั้น บุคคลอื่นที่มิใช่ทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะยกเอาอายุความมรดก 1 ปี นี้เป็นข้อต่อสู้ไม่ได้

คำว่า "บุคคลอื่น" หมายถึงใครบ้าง ขอยกตัวอย่างผู้ที่ไม่มีสิทธิยกอายุความ ปีขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เช่น
  • คนตายทำพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดให้คนอื่นแต่ผู้เดียว ทายาทโดยธรรมจึงถูกตัดมิให้รับมรดกแล้ว ดังนั้น ทายาทโดยธรรมจึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาท จะอ้างอายุความ ปีมาใช้ต่อสู้ผู้รับพินัยกรรมไม่ได้
  • ทายาทฟ้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและเรียกทรัพย์มรดกคืน ผู้จัดการมรดกจะยกอายุความ ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้
  • ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทที่ปิดบังมรดกไว้ ทายาทที่ปิดบังจะยกอายุความ ปีมาใช้ไม่ได้ เพราะเป็นฝ่ายผิดและตนย่อมถูกตัดสิทธิมิให้รับมรดกแล้ว จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิทายาทคนอื่นๆ
  • ทายาทลำดับหลังไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีตัวทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ เช่น น้องของผู้ตายจะยกอายุความมรดกมาต่อสู้บุตรของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก และเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าไม่ได้
  • ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้เป็นทายาทโดยธรรม ไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้

4 พฤษภาคม 2555

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการฟ้องชู้ เรียกค่าทดแทน
 


1. คำพิพากษาฎีกา 320/2530
          การล่วงเกินในทำนองชู้สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง มีความหมายรวมถึงการทำด้วยสิทธิเรียกค่าทดแทนนี้มิได้มีเงื่อนไขว่า สามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาในทำนองชู้สาวได้ และค่าทดแทน ในกรณีนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งที่ชายชู้ต้องรับผิด ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามฐานานุรูปแห่งผู้ต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งต้องรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ด้วย 
          โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยอ้างว่า จำเลยเป็นชู้กับ น.ผู้ตายซึ่งเป็นภริยาโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ข้อหนึ่งว่าหาก น. เป็นภริยาโจทก์ โจทก์ก็รู้เห็นเป็นใจให้ภริยามีชู้ ดังนี้ ประเด็นที่ว่าโจทก์รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยเป็นชู้กับผู้ตายนั้น ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย

2. คำพิพากษาฎีกาที่ 4014/2530
           การที่จำเลยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีโจทก์จนถึงขั้นสามีโจทก์ให้โจทก์ยอมรับจำเลยเป็นภรรยาน้อย  มิฉะนั้น จะทิ้งโจทก์  และจำเลยตบหน้าสามีโจทก์ในร้านอาหาร เพราะความหึงหวงต่อหน้าโจทก์ ทั้งสามีโจทก์และจำเลยยังได้ร่วมกันกู้เงินจากธนาคารมาสร้างหอพักในที่ดินของจำเลย  และมีผู้รู้เห็นว่าสามีโจทก์ได้มาหาและพักนอนอยู่ที่บ้านจำเลยหลายครั้ง เช่นนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีโจทก์  โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามมาตรา 1523 วรรคสอง  แต่คำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยระงับการมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีโจทก์นั้น สภาพของคำขอดังกล่าวไม่เปิดช่องศาลไม่อาจบังคับได้

3. คำพิพากษาฎีกาที่ 454/2533     
          คำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโจทก์  การเป็นชู้ ย่อมเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์นับเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว ทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ และขอให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทน นับได้ว่าเป็นการแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
          โจทก์นำสืบว่าโจทก์เดินทางไปต่างประเทศครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2526  และโจทก์ได้ทราบเรื่องจำเลยเป็นชู้ เมื่อต้นเดือนเมษายน 2527  จำเลยมิได้สืบหักล้างให้เห็นว่าโจทก์ทราบเรื่องตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2526  จึงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนเมษายน 2527   โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2527  ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี สิทธิฟ้องของโจทก์ ย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง