เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่น้อยคนนักที่จะเรียนรู้และให้ความสำคัญกับกฎหมาย คนที่รู้มากก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษ ส่วนคนที่ไม่รู้ก็มักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงอยากนำเสนอเกร็ดกฎหมายเล็กๆน้อยๆที่สามารถจะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดสามารถนำคำถามต่างๆมาโพสถามได้ เราจะพยายามตอบคำถามและค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์มานำเสนอแก่ท่านทั้งหลายต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลทั้งหมดจะเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย หากมมีข้อผิดพลาดประการใดยินดีรับคำชี้แนะของทุกท่าน คุณความดีทั้งหมดข้อยกให้แด่บิดามารดาและครูอาจารย์ทุกท่าน ติดต่อคดีความโทร.0990310273

11 พฤษภาคม 2555

ขั้นตอนการพิจารณาคดีอาญา


ขั้นตอนในการพิจารณาคดีอาญา

 1.  ฟ้องที่ศาลใด
                พิจารณาว่าความผิดเกิดขึ้นในเขตศาลใด หรือจำเลยมีที่อยู่ หรือถูกจับในเขตศาลใด หรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในเขตศาลใด  ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาคดี
              
                 2.  คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
 
                คือ  คดีที่การกระทำผิดอาญาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทน หรือเรียกให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายต้องเสียไปจาการกระทำผิดอาญานั้น จะฟ้องจำเลยต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา  โดยมีคำขอส่วนแพ่งรวมอยู่ในคำฟ้องอาญา

                 3.  วิธีการอ่านคำฟ้อง  เมื่อได้รับสำเนาคดีคำฟ้อง  ควรตรวจดูคำฟ้องดังนี้
                           - ศาลที่ฟ้อง  วัน เดือน ปี ที่ฟ้อง
                           - ชื่อโจทก์และจำเลย  จำนวนโจทก์และจำเลย
                           - ข้อหาหรือฐานความผิด
                           - ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

                 4.  ข้อควรปฎิบัติเมื่อศาลประทับฟ้อง  หากจำเลยจะสู้คดีควรปฎิบัติ ดังนี้
                      1. หากศาลมีคำสั่งขังจำเลย   จำเลยสามารถยื่อคำร้องขอประกันต่อศาล  ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะได้รบอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนหรือชั้นฝากขังหรือไม่ก็ตามท
                      2. ดำเนินการหาทนายความเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้การดำเนินคดีต่อไป
                      3. ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้อง  และสิ่งที่โจทก์ยื่นเป็นพยานหลักฐาน

                 5. ชั้นพิจารณาคดี
                     1. การพิจารณาและสืบพยานในศาล จะกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย โดยศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่ากระทำความผิดจริงหรือไม่ แล้วจดคำให้การจำเลยไว้
                     2. กรณีจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาคดีโดยไม่ต้องสืบพยานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่อัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ ปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลย 
                     3. กรณีจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป โดยศาลจะนัดสืบพยานโจทก์ก่อนเสร็จแล้วจึงให้นัดสืบพยานจำเลย หลักจากสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้วศาลจะนัดฟังคำพิพากษา
                    โจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลทุกนัด หากไม่มา ศาลต้องยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มาศาลโดยมีเหตุอันสมควร ศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ หากจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดหรือตามหมายเรียก (กรณีจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว) ศาลจะออกหมายจับจำเลยและปรับนายประกันในทางปฏิบัติแล้วหากศาลไม่แน่ใจว่าจะจับจำเลยได้เมื่อใดก็จะจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อไป

                 การสืบพยาน
                 คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบก่อนจำเลยเสมอ และเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว จำเลยจึงนำพยานเข้าสืบต่อไป ก่อนสืบพยานโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงเปิดคดี  และหลังสืบพยานเสร็จแล้วโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงปิดคดีได้
                 ในระหว่างพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือทำการอะไรอีก จะสั่งงดพยานหรือการนั้นเสียก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น