เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่น้อยคนนักที่จะเรียนรู้และให้ความสำคัญกับกฎหมาย คนที่รู้มากก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษ ส่วนคนที่ไม่รู้ก็มักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงอยากนำเสนอเกร็ดกฎหมายเล็กๆน้อยๆที่สามารถจะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดสามารถนำคำถามต่างๆมาโพสถามได้ เราจะพยายามตอบคำถามและค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์มานำเสนอแก่ท่านทั้งหลายต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลทั้งหมดจะเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย หากมมีข้อผิดพลาดประการใดยินดีรับคำชี้แนะของทุกท่าน คุณความดีทั้งหมดข้อยกให้แด่บิดามารดาและครูอาจารย์ทุกท่าน ติดต่อคดีความโทร.0990310273

30 พฤษภาคม 2555

ความรู้เกี่ยวกับที่ดิน

     ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับใช้เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นระเบียบการเกี่ยวกับที่ดินจึงมีความละเอียดอ่อนมาก เพื่อให้ประชาชนผู้สุจริตได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับเรื่องที่ดินที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันบางส่วนไว้บ้าง จึงได้รวบรวมข้อควรทราบและทางปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินซึ่งจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ   ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนองคลองบึง ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1)
ประเภทที่ดิน

1. ที่ดินของเอกชน รวมที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ แต่อาจมีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3 ก.) ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นและรวมถึงที่ดินมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
2. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมทั้งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมิได้มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ทางหลวง ทางน้ำ ทะเลสาบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะเช่น ศาลากลางจังหวัด


สาธารณสมบัติของแผ่นดินมีคุณสมบัติดังนี้

1. จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ออกเฉพาะให้โอนกันได้

2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ครอบครองทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะกี่ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ

3. ห้ามยึดทรัพย์ของแผ่นดิน

แจ้งทราบ ^_^

เนื่องจากระยะนี้ผู้เขียนติดภารกิจ จึงมิได้เข้ามาอัพเดตblog หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยในเรื่องใด สามารถโพสถามไว้ได้ แล้วผู้เขียนจะเข้ามาตอบให้ภายหลัง คาดว่าจะเสร็จภารกิจในอาทิตย์หน้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย _/\_

11 พฤษภาคม 2555

ขั้นตอนการพิจารณาคดีอาญา


ขั้นตอนในการพิจารณาคดีอาญา

 1.  ฟ้องที่ศาลใด
                พิจารณาว่าความผิดเกิดขึ้นในเขตศาลใด หรือจำเลยมีที่อยู่ หรือถูกจับในเขตศาลใด หรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในเขตศาลใด  ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาคดี
              
                 2.  คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
 
                คือ  คดีที่การกระทำผิดอาญาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทน หรือเรียกให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายต้องเสียไปจาการกระทำผิดอาญานั้น จะฟ้องจำเลยต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา  โดยมีคำขอส่วนแพ่งรวมอยู่ในคำฟ้องอาญา

                 3.  วิธีการอ่านคำฟ้อง  เมื่อได้รับสำเนาคดีคำฟ้อง  ควรตรวจดูคำฟ้องดังนี้
                           - ศาลที่ฟ้อง  วัน เดือน ปี ที่ฟ้อง
                           - ชื่อโจทก์และจำเลย  จำนวนโจทก์และจำเลย
                           - ข้อหาหรือฐานความผิด
                           - ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

                 4.  ข้อควรปฎิบัติเมื่อศาลประทับฟ้อง  หากจำเลยจะสู้คดีควรปฎิบัติ ดังนี้
                      1. หากศาลมีคำสั่งขังจำเลย   จำเลยสามารถยื่อคำร้องขอประกันต่อศาล  ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะได้รบอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนหรือชั้นฝากขังหรือไม่ก็ตามท
                      2. ดำเนินการหาทนายความเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้การดำเนินคดีต่อไป
                      3. ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้อง  และสิ่งที่โจทก์ยื่นเป็นพยานหลักฐาน

                 5. ชั้นพิจารณาคดี
                     1. การพิจารณาและสืบพยานในศาล จะกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย โดยศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่ากระทำความผิดจริงหรือไม่ แล้วจดคำให้การจำเลยไว้
                     2. กรณีจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาคดีโดยไม่ต้องสืบพยานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่อัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ ปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลย 
                     3. กรณีจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป โดยศาลจะนัดสืบพยานโจทก์ก่อนเสร็จแล้วจึงให้นัดสืบพยานจำเลย หลักจากสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้วศาลจะนัดฟังคำพิพากษา
                    โจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลทุกนัด หากไม่มา ศาลต้องยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มาศาลโดยมีเหตุอันสมควร ศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ หากจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดหรือตามหมายเรียก (กรณีจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว) ศาลจะออกหมายจับจำเลยและปรับนายประกันในทางปฏิบัติแล้วหากศาลไม่แน่ใจว่าจะจับจำเลยได้เมื่อใดก็จะจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อไป

                 การสืบพยาน
                 คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบก่อนจำเลยเสมอ และเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว จำเลยจึงนำพยานเข้าสืบต่อไป ก่อนสืบพยานโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงเปิดคดี  และหลังสืบพยานเสร็จแล้วโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงปิดคดีได้
                 ในระหว่างพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือทำการอะไรอีก จะสั่งงดพยานหรือการนั้นเสียก็ได้

ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่ง



สิทธิในการฟ้องคดีแพ่ง

บุุคคลที่มีสิทธินำคดีแพ่งขึ้นฟ้องร้องต่อศาลจะต้องมีเหตุตามกฎหมายกำหนดไว้ 2 ประการ คือ
            
 1. การโต้แย้งสิทธิ 
             2. การต้องใช้สิทธิทางศาล 

             1. การโต้แย้งสิทธิ หมายถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายความถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว สิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง
              เป็นการโต้แย้งสิทธิและต้องฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลย เรียกว่า คดีมีข้อพิพาท

              2. การต้องใช้สิทธิทางศาล หมายถึง กรณีที่กฎหมายกำหนดให้การกระทำบางอย่างต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรองจากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ สาบสูญ  การขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น

             ผูููู้ขอไม่ต้องฟ้องใครเป็นจำเลย เพียงแต่ยื่นคำร้องขอต่อศาลเท่านั้นและศาลจะนัดไต่สวน
คำร้องของผู้ร้อง เรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท

10 พฤษภาคม 2555

อายุความมรดก



ผู้มีสิทธิได้รับมรดกไม่ว่าจะในฐานะทายาทโดยธรรม คือ คู่สมรส หรือลูกๆของเจ้ามรดก หรือในฐานะผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นบุคคลใดก็ได้ ถ้าแบ่งปันทรัพย์มรดกกันลงตัวด้วยดีก็ดีไป แต่ถ้ามีข้อโต้แย้งแย่งชิงมรดกกันขึ้น ต้องทราบด้วยว่ามีเงื่อนไขสำคัญของกฎหมายเรื่องกำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตาม คือ"อายุความฟ้องคดีมรดก"

"คดีมรดก" หมายถึง คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วยกันตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรม หรือคดีที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกถูกฟ้องในฐานะทายาท ให้รับผิดชอบหนี้ที่ผู้ตายเป็นหนี้อยู่

เราสามารถแยกกำหนดอายุความมรดกได้ดังนี้ คือ
1.อายุความฟ้องคดีมรดก ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม คือ พ่อแม่ คู่สมรส บุตรของผู้ตาย ต้องฟ้องคดีมรดกภายในกำหนด ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
2.อายุความสิทธิเรียกร้องตามข้อกำหนดพินัยกรรม ผู้ฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้ที่ผู้ตายยกมรดกให้ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย
อายุความฟ้องคดีเรียกร้องมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ให้เริ่มนับตั้งแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิที่ผู้รับพินัยกรรมมีอยู่ตามพินัยกรรม เพราะกฎหมายบัญญัติว่า " สิทธิและหน้าที่ใดๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมให้มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป" ถ้าเขายังไม่ตายทรัพย์สินของเขาก็ยังมิใช่ทรัพย์มรดกที่จะตกทอดให้ใครๆได้
แต่มีกรณียกเว้น คือ ถ้าผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย หรือตามข้อกำหนดพินัยกรรม หากเป็นกรณีที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่ง แล้วฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ก็สามารถฟ้องได้แม้จะเกิน ปีแล้วก็ตาม ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องภายใน ปี อายุความมรดก ปี อยู่ภายใต้บังคับว่า "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความ ปี แล้วก็ดี" ดังนั้น สำหรับทายาทคนที่ครองครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันนั้น แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อกำหนดอายุความมรดกกี่สิบปีก็ตามก็ฟ้องขอแบ่งได้ ไม่ขาดอายุความมรดก ปี
เมื่อทายาทคนใดฟ้องเรียกร้องส่วนแบ่งมรดกเกินหนึ่งปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก และทายาทผู้นั้นไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความ ปีไม่ได้ และถ้าทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในทรัพย์นั้นยกอายุความตาม ปี ขึ้นต่อสู้ คดีย่อมขาดอายุความ ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ส่วนทายาทที่ครองครองมรดกเกินกำหนดอายุความ ถือว่ามีสิทธิในทรัพย์มรดกที่ตนครอบครอง มีอำนาจในฐานนะเจ้าของกรรมสิทธิ์
3.อายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้กองมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องฟ้องเรียกร้องสิทธิภายในกำหนด ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ไม่ให้เกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย
สำหรับเจ้าหนี้ผู้ตายนั้น นอกจากเจ้าหนี้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีเจ้าหนี้ประเภทที่ผู้ตายนำทรัพย์ไปเป็นประกัน เช่น เจ้าหนี้จำนอง เจ้าหนี้จำนำ เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง กฎหมายบัญญัติว่า "ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงสิทธิบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ฯลฯ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ซึ่งอาจมีอายุความในการบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นยาวกว่า ปี ก็ต้องฟ้องภายใน ปี มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ
4.อายุความ 10 ปี อย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่าข้างต้นนั้น มิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในกองมรดกที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ผู้รับพินัยกรรมที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ดี หรือเจ้าหนี้กองมรดกไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ซึ่งอาจฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ปี นับแต่มารู้ถึงความตายของเจ้ามรดกหรือสิทธิตามพินัยกรรมในภายหลังได้ แต่จะอ้างความไม่รู้ดังกล่าวมาเป็นเหตุฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องร้องกันไม่สิ้นสุด
5.สิทธิยกอายุความ ปี ขึ้นต่อสู้ ใครบ้างที่มีสิทธิยกอายุความ ปีขึ้นต่อสู้ กฎหมายกำหนดบุคคล ประเภทซึ่งมีสิทธิยกอายุความ ปีขึ้นต่อสู้ไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นทายาท (ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม) หรือคนที่มีสิทธิที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก ดังนั้น บุคคลอื่นที่มิใช่ทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะยกเอาอายุความมรดก 1 ปี นี้เป็นข้อต่อสู้ไม่ได้

คำว่า "บุคคลอื่น" หมายถึงใครบ้าง ขอยกตัวอย่างผู้ที่ไม่มีสิทธิยกอายุความ ปีขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เช่น
  • คนตายทำพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดให้คนอื่นแต่ผู้เดียว ทายาทโดยธรรมจึงถูกตัดมิให้รับมรดกแล้ว ดังนั้น ทายาทโดยธรรมจึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาท จะอ้างอายุความ ปีมาใช้ต่อสู้ผู้รับพินัยกรรมไม่ได้
  • ทายาทฟ้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและเรียกทรัพย์มรดกคืน ผู้จัดการมรดกจะยกอายุความ ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้
  • ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทที่ปิดบังมรดกไว้ ทายาทที่ปิดบังจะยกอายุความ ปีมาใช้ไม่ได้ เพราะเป็นฝ่ายผิดและตนย่อมถูกตัดสิทธิมิให้รับมรดกแล้ว จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิทายาทคนอื่นๆ
  • ทายาทลำดับหลังไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีตัวทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ เช่น น้องของผู้ตายจะยกอายุความมรดกมาต่อสู้บุตรของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก และเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าไม่ได้
  • ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้เป็นทายาทโดยธรรม ไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้

4 พฤษภาคม 2555

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการฟ้องชู้ เรียกค่าทดแทน
 


1. คำพิพากษาฎีกา 320/2530
          การล่วงเกินในทำนองชู้สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง มีความหมายรวมถึงการทำด้วยสิทธิเรียกค่าทดแทนนี้มิได้มีเงื่อนไขว่า สามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาในทำนองชู้สาวได้ และค่าทดแทน ในกรณีนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งที่ชายชู้ต้องรับผิด ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามฐานานุรูปแห่งผู้ต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งต้องรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ด้วย 
          โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยอ้างว่า จำเลยเป็นชู้กับ น.ผู้ตายซึ่งเป็นภริยาโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ข้อหนึ่งว่าหาก น. เป็นภริยาโจทก์ โจทก์ก็รู้เห็นเป็นใจให้ภริยามีชู้ ดังนี้ ประเด็นที่ว่าโจทก์รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยเป็นชู้กับผู้ตายนั้น ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย

2. คำพิพากษาฎีกาที่ 4014/2530
           การที่จำเลยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีโจทก์จนถึงขั้นสามีโจทก์ให้โจทก์ยอมรับจำเลยเป็นภรรยาน้อย  มิฉะนั้น จะทิ้งโจทก์  และจำเลยตบหน้าสามีโจทก์ในร้านอาหาร เพราะความหึงหวงต่อหน้าโจทก์ ทั้งสามีโจทก์และจำเลยยังได้ร่วมกันกู้เงินจากธนาคารมาสร้างหอพักในที่ดินของจำเลย  และมีผู้รู้เห็นว่าสามีโจทก์ได้มาหาและพักนอนอยู่ที่บ้านจำเลยหลายครั้ง เช่นนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีโจทก์  โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามมาตรา 1523 วรรคสอง  แต่คำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยระงับการมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีโจทก์นั้น สภาพของคำขอดังกล่าวไม่เปิดช่องศาลไม่อาจบังคับได้

3. คำพิพากษาฎีกาที่ 454/2533     
          คำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโจทก์  การเป็นชู้ ย่อมเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์นับเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว ทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ และขอให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทน นับได้ว่าเป็นการแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
          โจทก์นำสืบว่าโจทก์เดินทางไปต่างประเทศครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2526  และโจทก์ได้ทราบเรื่องจำเลยเป็นชู้ เมื่อต้นเดือนเมษายน 2527  จำเลยมิได้สืบหักล้างให้เห็นว่าโจทก์ทราบเรื่องตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2526  จึงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนเมษายน 2527   โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2527  ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี สิทธิฟ้องของโจทก์ ย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง

มัดจำ

คำถาม ----- ทรัพย์สินซึ่งมิได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา แต่ให้ไว้ในวันอื่น เช่น เงินค่างวด หากสัญญาระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ จะถือเป็นเงินมัดจำหรือไม่?

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2549 ----- คำว่า "มัดจำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 คือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญาโจทก์ผู้จะซื้อได้วางเงินมัดจำไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 914,000 บาท จะชำระเป็นงวดรายเดือน จำนวน 10 เดือน ดังนั้น เงินที่วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจึงมีเพียง 10,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินค่างวดที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยทั้งสามอีก 10 งวด เป็นเงิน 170,000 บาท นั้น แม้ตามสัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ใช่เงินมัดจำตามความหมายดังกล่าว แต่เป็นเพียงการชำระราคาที่ดินบางส่วน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 10,000 บาท ได้ตามมาตรา 378 (2) ส่วนเงินที่โจทก์ชำระค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าว จำเลยทั้งสามต้องให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 แต่การที่โจทก์และจำเลยทั้งสามตกลงกันให้ริบเงินดังกล่าวได้ตามสัญญาข้อ 13 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง

สรุป ----- "มัดจำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 คือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น ดังนั้น เงินซึ่งมิได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ถือว่าเป็นเงินมัดจำตามความหมายดังกล่าว จำเลยไม่มีสิทธิริบ ตามมาตรา 378 (2)

กฎหมายน่ารู้

เริ่มต้นวันนี้กับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มักเจอเสมอในชีวิตประจำวันของใครหลายๆคน


คำถาม ----- สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยไม่สุจริต เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำ มีสิทธิขอให้รื้อถอนหรือไม่?

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2542 ----- ที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1 อยู่ติดกันเป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่มีรั้วหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตไว้ การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยเพิกเฉยไม่ตรวจสอบแนวเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ให้แน่นอนเสียก่อน จึงเป็นการกระทำที่ส่อแสดงถึงความไม่รอบคอบและประมาทเลินเล่อ นอกจากนี้ในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทต่อเทศบาล ก็ไม่ปรากฏหลักฐานสำเนาโฉนดที่ดินและบัตรประจำตัวประชาชน คงมีแต่หนังสือให้ความยินยอมให้ก่อสร้างของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเท่านั้น ซึ่งปรากฏว่าลายมือชื่อของโจทก์เป็นลายมือชื่อปลอม พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองรู้หรือควรจะรู้แต่ต้นแล้วว่าอาคารพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพิพาทได้

สรุป ---- เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำมีสิทธิเรียกให้ผู้สร้างโดยไม่สุจริตนั้นรื้อถอนโรงเรือนออกไปได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคสอง